ลักษณะของเพลง


ลักษณะของเพลงที่นำมาใช้ประกอบการสอน

ผู้เขียนพอจะมีความสามารถทางด้านการแต่งบทร้อยกรองอยู่บ้างจึงได้นำมาทดลองแต่งเป็นเพลงประกอบการสอนในเรื่องต่างๆที่เป็นปัญหา โดยเฉพาะเรื่องนั้นๆ แล้วฝึกให้นักเรียนร้องบ่อยๆ จนจำได้ขึ้นใจเมื่อทดลองประเมินผลในเรื่องนั้น ปรากฏว่านักเรียนกลับมีคะแนนดีขึ้นจนน่าพอใจ จึงได้เห็นความสำคัญและประโยชน์ของการใช้เพลงประกอบการสอน และเริ่มแต่งมากขึ้นเรื่อยๆ จนสามารถรวบรวมเป็นแถบบันทึกเสียงประกอบดนตรีสากลของคนเองได้หลายชุด โดยใช้ชื่อว่า “ภาษาพาสุข สนุกกับเพลง” ลักษณะการแต่งเพลงที่นำมาใช้อย่างโดดเด่นประจำตัวก็คือ
1.เป็นทำนองเพลงลูกทุ่งที่นักเรียนสามารถฟังจนติดหู หรือร้องจนติดปากแล้ว เช่น เพลงรักน้องพร จะนำมาแต่เป็นเพลง เขียนเรียงความแล้วค่ะ เขียนจดหมายแล้วค่ะ
2.แต่งเป็นบทร้อยกรองกลอนสุภาพ หรือกาพย์ยานี 11 แล้วนำมาใส่ทำนองเป็นเพลงไทยเดิมที่สนุกๆ เช่น เพลงค้างคาวกินกล้วย เพลงแหล่ เพลงพื้นบ้าน เป็นต้น
3.มีเนื้อหาของเรื่องที่จะสอนสอดแทรกไว้ในเพลงทุกเพลง
               4.เพลงที่ใช้ส่วนใหญ่มีเนื้อร้องสั้นๆ ไม่ยาวจนเกินไป นอกจากเพลงที่ใช้ประกอบชุดการสอนจะมีความยาวเท่าเพลงเดิม
5.เน้นความไพเราะสนุกสนานเปลี่ยนบรรยากาศในการเรียนไม่ให้เคร่งเครียด
6.หลังจากร้องเพลงจบแล้ว จะมีการอภิปรายเกี่ยวกับเนื้อหาหรือปัญหาที่น่าคิดจากเนื้อเพลง โดยมีกิจกรรมให้นักเรียนได้เลือกฝึกปฏิบัติตามความสนใจและตามความเหมาะสม 






ข้อมูลจาก : สุนันทา สุนทรประเสริฐ
                   ครูเชี่ยวชาญโรงเรียนสุพรรณภูมิ
                   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สุพรรณภูมิ เขต ๑

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น